Breaking News

SCB EIC ประเมินมูลค่าการส่งออกสินค้าไทยจะสามารถขยายตัวได้ที่ 2.6% ในปี 2024 (ณ เดือน ก.ย. ตัวเลขระบบดุลการชำระเงิน) อย่างไรก็ดี มูลค่าการส่งออกที่ผ่านมาในเดือน ก.ค. และ ส.ค. ขยายตัวดีต่อเนื่องและสูงกว่าที่ SCB EIC คาดการณ์ไว้และสูงกว่ามุมมองตลาดมาก[2] นอกจากนี้ การส่งออกของไทยยังมีแนวโน้มขยายตัวได้ในระยะถัดไปจากเศรษฐกิจโลกที่ยังขยายตัวได้ในภาพรวม แม้จะชะลอตัวลงบ้างในหลายประเทศ รวมถึงวัฏจักรสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ขาขึ้น และแรงกดดันด้านค่าระวางเรือที่เริ่มลดลง ส่งผลให้มูลค่าการส่งออกในปี 2024 อาจขยายตัวได้มากกว่าประมาณการเดิมที่ 2.6% แต่ต้องจับตาผลกระทบเพิ่มเติมจากปัญหาน้ำท่วมในหลายพื้นที่ของไทย การแข็งค่าของเงินบาท และการยกเลิกมาตรการควบคุมการส่งออกข้าวของอินเดีย

“สยามคูโบต้า”สร้างชุมชนเกษตรต้นแบบ ด้วยนวัตกรรมการปลูกพืชสมุนไพร

“สยามคูโบต้า”สร้างชุมชนเกษตรต้นแบบ ด้วยนวัตกรรมการปลูกพืชสมุนไพร
1
เขียนโดย Intrend online 2024-10-18

เปิด “ศูนย์เรียนรู้ชุมชนพลังเกษตรสร้างสุขสยามคูโบต้า-เขานาใน” แห่งแรกของภาคใต้ ชูจุดเด่นขมิ้นชันจากแหล่งปลูกที่ดีที่สุดของไทย มุ่งต่อยอดการพัฒนาอย่างยั่งยืน

 


บริษัทสยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด จับมือ วิสาหกิจชุมชนบ้าน เขานาใน สร้างชุมชนต้นแบบด้านการเกษตร เดินหน้าเปิด “ศูนย์เรียนรู้ชุมชนพลังเกษตรสร้างสุขสยามคูโบต้า - เขานาใน” ความภาคภูมิใจครั้งยิ่งใหญ่แห่งแรกของภาคใต้ ภายใต้บทบาทการส่งเสริมองค์ความรู้ด้วยระบบ KUBOTA (Agri) Solutions หรือ KAS นวัตกรรมเกษตรครบวงจรของสยามคูโบต้า ในการปลูกพืชสมุนไพร ชูจุดเด่น Womenomics พลังขับเคลื่อนเศรษฐกิจชุมชน ด้วยบทบาทกลุ่มเกษตรกรหญิงแกร่งแห่งวิสาหกิจชุมชนบ้านเขานาใน พร้อมต่อยอดผลผลิต “ขมิ้นชัน” จากแหล่งปลูกที่ดีที่สุดของไทย สู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูป สร้างแหล่งงานและรายได้ที่ยั่งยืนให้แก่เกษตรกร พร้อมต่อยอดให้เกิดการถ่ายทอดให้เกษตรกรและผู้สนใจต่อไป

นายจูนจิ โอตะ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทสยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด กล่าวถึงการเข้าไปสนับสนุนกลุ่มวิสาหกิจชุมชนสู่การเป็น ศูนย์เรียนรู้ชุมชนพลังเกษตรสร้างสุขสยามคูโบต้า-เขานาใน ครั้งนี้ว่า “นับเป็นความภาคภูมิใจครั้งยิ่งใหญ่ที่สยามคูโบต้าได้มีโอกาสเข้าไปร่วมมือและสนับสนุนองค์ความรู้ให้แก่ วิสาหกิจชุมชนบ้านเขานาใน ตำบลต้นยวน อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งนับเป็นศูนย์เรียนรู้ชุมชนพลังเกษตรสร้างสุขสยามคูโบต้าลำดับที่ 6 และเป็นศูนย์เรียนรู้ฯ แห่งแรกของภาคใต้ ด้วยการส่งเสริมการเพาะปลูกด้วยระบบ KUBOTA (Agri) Solutions หรือ KAS นวัตกรรมเกษตรครบวงจร เพื่อเพิ่มปริมาณและคุณภาพผลผลิต โดยชูจุดเด่นด้านความเชี่ยวชาญในการปลูกขมิ้นชัน และการเป็น Womenomics หรือพลังขับเคลื่อนเศรษฐกิจชุมชนด้วยบทบาทกลุ่มเกษตรกรหญิงแกร่งแห่งวิสาหกิจชุมชนบ้านเขานาในที่มีศักยภาพความมุ่งมั่นบวกกับความพร้อมและความตั้งใจ

 

 

ทั้งนี้ สยามคูโบต้ามีนโยบายการดำเนินธุรกิจในด้านความรับผิดชอบต่อสังคม โดยให้ความสำคัญกับการทำเกษตรกรรมบนพื้นฐานความยั่งยืน เราจึงมุ่งเน้นไปยังเกษตรกรผู้ที่ถือเป็นหัวใจสำคัญที่สุดของเรา เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของพวกเขาให้เข้มแข็ง ตลอดจนสามารถพึ่งพาตนเองได้ เกิดความรักและภาคภูมิใจในอาชีพของตัวเอง เราจึงได้ดำเนิน “โครงการชุมชนพลังเกษตรสร้างสุขสยามคูโบต้า” มาตั้งแต่ปี 2554 โดยมีเป้าหมายพัฒนากลุ่มเกษตรกรที่มีศักยภาพ มีความตั้งใจในการรวมกลุ่มเพื่อสร้างชุมชนต้นแบบด้านการเกษตร ด้วยการสนับสนุนของสยามคูโบต้าตั้งแต่ต้นน้ำไปจนถึงปลายน้ำ ผ่านกิจกรรม 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการเกษตร ด้านการตลาดและการสร้างมูลค่าเพิ่ม รวมถึงด้านการพัฒนาศักยภาพบุคลากร

หลังจากสยามคูโบต้าเข้ามาศึกษาวิเคราะห์พื้นที่การเกษตรของวิสาหกิจชุมชนบ้านเขานาใน พบว่า ต้นทุนการปลูกขมิ้นชันค่อนข้างสูง แต่กลับได้ผลผลิตต่ำ ส่งผลต่อรายได้ที่ไม่แน่นอน สยามคูโบต้าจึงได้ส่งเสริมแปลงปลูกขมิ้นชันด้วยวิธีการ KAS พบว่า ผลผลิตและรายได้เพิ่มขึ้นถึง 10 % ในขณะที่ต้นทุนลดลง 38 % และมีกำไรเพิ่มขึ้น 36 % ในด้านการแปรรูปสร้างมูลค่าเพิ่ม สยามคูโบต้าได้เตรียมการขอมาตรฐานรับรองสินค้า พร้อมทั้งพัฒนาบรรจุภัณฑ์ และวางแผนช่องทางการจัดจำหน่ายในรูปแบบออฟไลน์และออนไลน์ สำหรับการพัฒนาศักยภาพบุคลากรได้มีการจัดหลักสูตรอบรมให้ความรู้การศึกษาดูงาน รวมถึงเรียนรู้วิธีการทำการตลาดออนไลน์ เพื่อให้ศูนย์เรียนรู้ชุมชนพลังเกษตรสร้างสุขสยามคูโบต้า – เขานาใน แห่งนี้ไม่ได้เป็นเพียงแหล่งรวมความรู้ด้านการเกษตรเท่านั้น แต่ยังเป็นชุมชนเกษตรต้นแบบด้านการใช้นวัตกรรมเครื่องจักรกลการเกษตรครบวงจรในการปลูกพืชสมุนไพร และเป็นศูนย์กลางของความร่วมมือในการผลิตสมุนไพร เกิดการสร้างอาชีพสร้างรายได้ให้ชุมชน ต่อยอดรายได้ ให้เศรษฐกิจของจังหวัด ตลอดจนสร้างแรงบันดาลใจให้แก่เกษตรกรและผู้สนใจต่อไป”

 


ด้านนางหนูเรียง จีนจูด ประธานวิสาหกิจชุมชนบ้านเขานาใน และประธานศูนย์เรียนรู้ชุมชนพลังเกษตรสร้างสุขสยามคูโบต้า - เขานาใน กล่าวถึงจุดเริ่มต้นในการเป็นส่วนหนึ่งของโครงการชุมชนพลังเกษตรสร้างสุขสยามคูโบต้าว่า “สยามคูโบต้าได้เข้ามาร่วมสนับสนุนวิสาหกิจชุมชนบ้านเขานาใน เมื่อปี 2564 โดยต่อยอดจุดเด่นของวิสาหกิจชุมชนฯ ด้านการปลูกขมิ้นและสร้างผลิตภัณฑ์แปรรูปจากขมิ้นที่กำเนิดบนแหล่งปลูกที่ดีที่สุดของไทย จึงทำให้มีสารเคอร์คิวมินอยด์ (curcuminoid) สูงและได้รับการขึ้นทะเบียนรับรองตราสัญลักษณ์สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์หรือ GI (Geographical Indication) ปัจจุบันวิสาหกิจชุมชนบ้านเขานาในมีจำนวนสมาชิกทั้งหมด 35 คน มีพื้นที่การเกษตรรวม 600 ไร่ ปลูกยางพารา 390 ไร่ ปาล์มน้ำมัน 210 ไร่ และขมิ้นชัน 100 ไร่ เพื่อนำไปทำผลิตภัณฑ์แปรรูป ต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสมุนไพรและการนวดแผนไทยที่สืบทอดจากรุ่นสู่รุ่น นอกจากนี้ ยังสร้างธนาคารขมิ้น รวม 6 สายพันธุ์ ได้แก่ ขมิ้นชัน ขมิ้นแดงสยาม ขมิ้นดำ ขมิ้นขาว ขมิ้นด้วง และขมิ้นอ้อย เพื่อเป็นแหล่งขยายพันธุ์ ช่วยลดต้นทุน และสร้างรายได้เพิ่ม

ทั้งนี้ในช่วงเริ่มแรกได้มีการพัฒนางานแปรรูปร่วมกับมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช และดำเนินการจัดทำแปลงทดสอบขมิ้นชันด้วยวิธีการ KAS ร่วมกับสยามคูโบต้า ต่อมาได้รับเครื่องจักรกลการเกษตร แทรกเตอร์ รุ่น L5018SP และอุปกรณ์ต่อพ่วง ผ่านโครงการคูโบต้าร่วมมือ เกษตรร่วมใจ มาใช้บริหารจัดการร่วมกันในชุมชน ช่วยสร้างรายได้เฉลี่ย 20,000 บาทต่อเดือน รวมถึงสร้างมาตรฐานการผลิตสมุนไพรควบคู่กับการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ จนถึงวันนี้ได้รับโอกาสจากสยามคูโบต้าในการจัดตั้ง ศูนย์เรียนรู้ชุมชนพลังเกษตรสร้างสุขสยามคูโบต้า - เขานาใน ประกอบด้วย 3 โซนหลัก ได้แก่ โซนศูนย์เรียนรู้ชุมชนพลังเกษตรสร้างสุขสยามคูโบต้า – เขานาใน โซนอาคารแปรรูปสมุนไพร และโซนแปลงส่งเสริมการปลูกขมิ้นชันด้วย ระบบ KUBOTA (Agri) Solutions หรือ KAS นับเป็นการยกระดับวิสาหกิจชุมชนบ้านเขานาในอย่างเป็นรูปธรรม ขณะเดียวกันเกษตรกรของเรายังมีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาศักยภาพ เพื่อเป็นพลังขับเคลื่อนให้ศูนย์เรียนรู้ฯ แห่งนี้ มีความพร้อมในการต้อนรับเหล่าเกษตรกรและทุกคนผู้สนใจได้เข้ามาศึกษาอีกด้วย

ทั้งนี้ สยามคูโบต้ามีแผนในการพัฒนาศูนย์เรียนรู้ชุมชนพลังเกษตรสร้างสุขสยามคูโบต้า – เขานาใน ในลำดับต่อไปเพื่อให้เกิด “การทำธุรกิจชุมชนต้นแบบ” โดยเปิดเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร และศูนย์นวดแผนไทยของจังหวัดสุราษฎร์ธานี และส่งเสริมการส่งออกผลิตภัณฑ์สมุนไพรไปตลาดต่างประเทศ และท้ายที่สุดคือ เป้าหมายในการพัฒนาต่อยอดความยั่งยืนเป็น “ฟาร์มนวัตกรรมเกษตรสมัยใหม่สู่ความยั่งยืน” หรือ Smart Farming Model ของภาคใต้ พร้อมเป็นพลังแห่งการส่งต่อไปยังพี่น้องเกษตรกรและภาคการเกษตรต่อไป